เมนู

พึงทราบอุปายาสว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์เหล่านี้แม้ทั้ง
2 ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง
อุปายาส ย่อมยังทุกข์มีประมาณยิ่ง
อันใด ให้เกิดขึ้น เพราะการเผาจิต และทำ
กายให้เศร้าหมอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
อุปายาสว่าทุกข์ เพราะทุกข์นั้นแล.


ว่าด้วยการเปรียบทุกข์ 3 อย่าง


อนึ่ง บรรดาทุกข์ 3 อย่างมีโสกะเป็นต้นเหล่านี้ โสกะ พึงเห็น
เหมือนการหุงน้ำมันเป็นต้น ในภายในภาชนะเท่านั้น ด้วยไฟอ่อน. พึงเห็น
ปริเทวะ เหมือนการล้นออกข้างนอกภาชนะของน้ำมันที่หุงอยู่ ด้วยไฟแรง.
พึงเห็น อุปายาส เหมือนการเคี้ยวจนแห้งในภายในภาชนะนั้นนั่นแหละ
ของน้ำมันเป็นต้น ซึ่งเหลือจากการล้นไปข้างนอกไม่พอที่จะล้นไปได้.

ว่าด้วยนิเทศอัปปิยสัมปโยคทุกข์

(บาลีข้อ 154 )
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศอัปปิยสัมปโยคทุกข์ ต่อไป
บทว่า ยสฺส ตัดบทเป็น เย อสฺส (แปลว่า อันใด...ของ).
บทว่า อนิฏฺฐา (อันไม่เป็นที่ปรารถนา) ได้แก่ ที่เขาไม่แสวงหา คือว่า
ที่เขาแสวงหา หรือไม่แสวงหาก็ตาม. อนึ่ง บทว่า อนิฏฺฐา นี้ เป็นชื่อของ
อารมณ์ที่ไม่ชอบใจอันไม่พึงแสวงหา.

ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่าใด ย่อมไม่ก้าวไป คือย่อมไม่เข้าไปในใจ
เพราะเหตุนั้น ธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่านั้น จึงชื่อว่า อกันตา (ไม่เป็นที่
รักใคร่). ธรรมเหล่าใด ย่อมไม่น่ารัก ย่อมไม่ยังใจให้เจริญ เพราะเหตุนั้น
ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า อมนาปา (ไม่เป็นที่ชอบใจ).
คำว่า รูป เป็นต้นเป็นคำขยายความสภาวะของธรรมเหล่านั้น. บุคคล
เหล่าใด ย่อมใคร่คือย่อมปรารถนาสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ เพราะเหตุนั้น บุคคล
เหล่านั้น จึงชื่อว่า อนตฺถถามา (ผู้มุ่งก่อความพินาศ). บุคคลเหล่าใด ย่อม
ใคร่ คือย่อมปรารถนาสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น
จึงชื่อว่า อหิตกามา (ผู้มุ่งทำลายประโยชน์เกื้อกูล). บุคคลเหล่าใด ย่อมใคร่
คือย่อมปรารถนาความไม่ผาสุกคือการอยู่เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น
จึงชื่อว่า อผาสุกา (ผู้มุ่งทำลายความผาสุก). บุคคลเหล่าใด ย่อมไม่ปรารถนา
แดนเกษมจากโยคะ คือวิวัฏฏะอันปราศภัย คือย่อมใคร่ ย่อมปรารถนา
วัฏฏะอันมีภัยนั้นแหละเพื่อโยคะ 4 เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้น
จึงชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา (ผู้มุ่งทำลายและเกษมจากโยคะ).
อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในบททั้ง 8 มีคำว่า อนตฺถกามา
เป็นต้นนี้ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ชื่อว่า อนตฺถกามา (ผู้มุ่งก่อความพินาศ) เพราะ
ไม่ใคร่ต่อประโยชน์กล่าวคือความเจริญธรรมมีศรัทธาเป็นต้น และเพราะใคร่
ต่อสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ กล่าวคือความเสื่อมแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ.
ที่ชื่อว่า อหิตกามา (ผู้มุ่งทำลายประโยชน์เกื้อกูล) เพราะไม่ใคร่ต่อประโยชน์
เกื้อกูลอันเป็นอุบายวิถีแห่งศรัทธาเป็นต้นนั่นเอง และเพราะใคร่ต่อสิ่งที่มิใช่
ประโยชน์เกื้อกูลอันเป็นอุบายวิธีแห่งอกุศลมีความเสื่อมศรัทธาเป็นต้นนั่นแหละ.

ที่ชื่อว่า อผาสุกา (ผู้มุ่งทำลายความผาสุก) เพราะไม่ใคร่ต่อการอยู่เป็นผาสุก
และเพราะใคร่ต่อการอยู่โดยไม่เป็นผาสุก. ที่ชื่อว่า อโยคกฺเขมกามา (ผู้มุ่ง
ทำลายแดนเกษม) เพราะไม่ใคร่ต่อความปลอดภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง และเพราะ
ใคร่ต่อภัย ดังนี้. การไปประกอบพร้อมกัน ชื่อว่า สํคติ (ความไปร่วม).
ความมาร่วมกัน ชื่อว่า สมาคโม (ความมาร่วม). ภาวะที่พร้อมกันในการยืน
การนั่งเป็นต้น ชื่อว่า สโมธานํ (ความประชุมร่วม). การทำร่วมกันซึ่งกิจ
ทั้งปวง ชื่อว่า มิสฺสีภาโว (ความเป็นผู้กระทำร่วม).
นี้เป็นโยชนา คือข้อแนะนำด้วยอำนาจแห่งสัตว์.
ส่วนโยชนาด้วยอำนาจแห่งสังขาร พึงถือเอาความตามที่ได้. คำว่า
อยํ วุจฺจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า นี้เราเรียกชื่อว่า อัปปิยสัมปโยคทุกข์
อัปปิยสัมปโยคนั้น อนุฏฺฐสโมธานลกฺขโณ มีการประชุมลงซึ่งสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนาเป็นลักษณะ จิตฺตวิฒาฏกรณรโส มีการทำความพินาตจิตเป็นรส
อนตฺถภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีภาวะที่ไร้ประโยชน์เป็นปัจจุปัฏฐาน อัปปิย-
สัมปโยคทุกข์นั้น ชื่อว่าเป็นธรรมหนึ่งไม่มีโดยอรรถะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์แม้ทั้ง 2 อย่างแก่บุคคลผู้
ประกอบด้วยอารมณ์อันไม่เป็นที่รักอย่างเดียว เพราะวัตถุทั้งหลายอันไม่น่า-
ปรารถนาถึงการประชุมลงแล้ว ย่อมยังทุกข์ทางกายให้เกิดขึ้นโดยการแทง
การตัด การผ่าเป็นต้นบ้าง ย่อมยังทุกข์ทางใจให้เกิดขึ้นโดยการเกิดความสะดุ้ง
กลัวบ้าง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เพราะเห็นสัตว์อันไม่เป็นที่รัก จึง
เป็นทุกข์ที่ใจก่อนทีเดียว และการเกิดทุกข์
ด้วยความพยายามของสัตว์อันไม่เป็นที่รักนั้น
ในกาย เพราะฉะนั้น พึงทราบการสมาคม
กับสัตว์อันไม่เป็นที่รักนั้นว่า พระมหาฤาษี
ตรัสว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแม้แห่ง
ทุกข์ทั้ง 2 ในโลกนี้แล.


ว่าด้วยนิเทศปิยวิปปโยคทุกข์

(บาลีข้อ 155)
นิเทศแห่งปิยวิปปโยคทุกข์ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าว
แล้วแล. ก็ในนิเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า มาตา วา (มารดาก็ตาม)
เป็นต้น เพื่อทรงแสดงบุคคลผู้ใคร่ประโยชน์โดยย่อ.
ในพระบาลีนั้น มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า มารดา เพราะอรรถว่า
ย่อมถนอมรัก. ที่ชื่อว่า บิดา เพราะอรรถว่า ย่อมพอใจ. ที่ชื่อว่า พี่ชาย
น้องชาย
ด้วยอรรถว่า ย่อมคุ้นกัน. ที่ชื่อว่า ภคินี ก็เหมือนกัน. ที่ชื่อว่า
มิตร เพราะอรรถว่า ประพฤติเมตตา หรือว่าด้วยอรรถว่า นับถือ อธิบายว่า
ย่อมสอดใส่ความลับทั้งหมดไว้ภายใน. ที่ชื่อว่า อำมาตย์ เพราะอรรถว่า
ย่อมเป็นผู้ร่วม ด้วยอรรถว่าเป็นผู้พร้อมกันในกรณียกิจทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า
ญาติ เพราะอรรถว่า ย่อมรู้ หรือทราบอย่างนี้ว่า คนนี้เป็นคนภายในของ
พวกเรา. ที่ชื่อว่า สาโลหิต เพราะอรรถว่า เป็นผู้สัมพันธ์กันด้วยสายเลือด.
พึงทราบบทเหล่านี้ โดยเนื้อความ ด้วยประการฉะนี้.